แผนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านแบบใช้โรงพยาบาลเป็นฐาน
มาตรฐานคุณวุฒิแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (มคว.2) สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว พ.ศ. 2563 เครือข่ายศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ภาษาไทย : วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
- ภาษาอังกฤษ : Diploma, Thai Board of Family Medicine
หลักการและเหตุผล
ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ที่สามารถทํางานในระบบสุขภาพปฐมภูมิ นับเป็นปัญหาที่สําคัญของประเทศ ไทยมาเป็นเวลายาวนาน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยการตราพระราชบัญญัติ ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 258 ช.(5)” ให้มีระบบ การแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” จึงเห็นได้ว่า แพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัวมีบทบาทสําคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศ
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งปัญญาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เล็งเห็นความสําคัญในการพัฒนาและฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ตามแผนการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านแบบใช้โรงพยาบาลเป็นฐาน (Hospital-based training) พ.ศ. 2562 โดยมีสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ซึ่งมีความพร้อมในด้านประสบการณ์การทํางานแบบปฐมภูมิในพื้นที่ รับผิดชอบ สถานที่ และบุคลการที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย ทําหน้าที่เป็นสถาบันหลักในการฝึกอบรมเพื่อให้เกิด ความมั่นใจในการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการปฏิบัติงานในทุกระดับ
พันธกิจของแผนการฝึกอบรม
ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้สามารถในการ
- 1. ให้บริการด้านเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม (Holistic) ครอบคลุม(Comprehensive) และ ต่อเนื่อง (Continuous care) ตามมาตรฐานวิชาชีพ ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรักษา การส่งเสริม ป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพ การคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยง การดูแลแบบประคับประคอง การดูแล ผู้สูงอายุ รวมถึงการให้คําแนะนําเบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยและทางเลือกในทุกมิติของการดูแล สุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
- 2. ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพร่วมกับทีมสุขภาพแบบสหสาขาวิชาชีพได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพตนเองและวิชาชีพอื่น รวมถึงผู้ป่วยและครอบครัว มี ความพร้อมเป็นผู้นําในการทํางานด้านสุขภาพในทุกระดับตามบริบทของพื้นที่และประเทศไทย
- 3. สร้างองค์ความรู้ (วิจัยและวิชาการ) ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักจริยธรรมการวิจัยทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล รักการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความพร้อมต่อการเผยแพร่ การสอนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งในพื้นที่และในระดับนานาชาติ
ทั้งนี้แผนการฝึกอบรมตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและโครงสร้าง ประชากร การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ซึ่งนําไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความต้องการด้าน สุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นโดยภาพรวมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล หลักสูตรจึงมุ้งเน้นผลิตแพทย์เฉพาะทางเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคม และระบบบริการสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถในเวชปฏิบัติครอบครัวที่เหมาะสมกับบริบทของระบบบริการปฐมภูมิ มีความรับผิดชอบใน หน้าที่ มีจริยธรรม มีทัศนคติ เจตคติที่ดี มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย เพื่อการแก้ปัญหา และการส่งเสริมสุขภาพโดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม และสภาพแวดล้อมการทํางานที่เหมาะสมเพื่อธํารงสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผลลัพธ์ของแผนงานฝึกอบรม
แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามสมรรถนะ หลักทั้ง 6 ด้าน ได้แก่
- 1. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
- 2. ความรู้ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนําไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวและชุมชน (Medical Knowledge and Skills)
- 3. การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-Based Learning and Improvement)
- 4. ทักษะปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
- 5. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
- 6. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-Based Practice)
ผู้รับการฝึกอบรมจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามสมรรถนะ หลักทั้ง 6 ด้าน ได้แก่
- 1. ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง และได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
- 2. มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานเลขาธิการแพทยสภาที่ 28/2558 เรื่องการรับสมัครแพทย์ ประจําบ้าน ประจําปีการฝึกอบรมนั้น
- 3. มีหนังสือยินยอมจากต้นสังกัดและหนังสือยินยอมให้รับต้นสังกัดเข้าศึกษาฝึกอบรมแพทย์ ประจําบ้าน ของสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (งดเว้นสําหรับแพทย์อิสระ)
- 4. ผู้สมัครยื่นแสดงเอกสารหลักฐานและหนังสือรับรองครบถ้วนตามประกาศแพทยสภาภายใน ระยะเวลาที่กําหนด
- 5. ผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะตามที่แพทยสภากําหนด หรือกําลังอยู่ในโครงการแพทย์ เพิ่มพูนทักษะซึ่งคาดว่าจะผ่านเกณฑ์ประเมินภายในก่อนเริ่มการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน
ขั้นตอนการรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน
หลักเกณฑ์การรับแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คุณสมบัติผู้สมัคร :
- 1. ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง และได้รับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
- 2. มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานเลขาธิการแพทยสภาที่ 28/2558 เรื่องการรับสมัครแพทย์ ประจําบ้าน ประจําปีการฝึกอบรมนั้น
- 3. มีหนังสือยินยอมจากต้นสังกัดและหนังสือยินยอมให้รับต้นสังกัดเข้าศึกษาฝึกอบรมแพทย์ ประจําบ้าน ของสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (งดเว้นสําหรับแพทย์อิสระ)
- 4. ผู้สมัครยื่นแสดงเอกสารหลักฐานและหนังสือรับรองครบถ้วนตามประกาศแพทยสภาภายใน ระยะเวลาที่กําหนด
- 5. ผ่านโครงการแพทย์เพิ่มพูนทักษะตามที่แพทยสภากําหนด หรือกําลังอยู่ในโครงการแพทย์ เพิ่มพูนทักษะซึ่งคาดว่าจะผ่านเกณฑ์ประเมินภายในก่อนเริ่มการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน
เกณฑ์การคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน :
- ผู้สมัครแพทย์ประจำบ้านจะได้รับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ฯ เพื่อทำความรู้จักผู้สมัครและทำการคัดเลือกด้วยคุณสมบัติสำคัญดังนี้
- 1. มีความเข้าใจและตั้งใจจริงในการเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
- 2. มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนมากกว่า 1 ปี การทำงานวิจัย หรือประสบการณ์อื่นๆที่ส่งเสริมการเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ดีในอนาคต
- 3. สาขาวิชามีนโยบายไม่ปฏิเสธการรับผู้เข้าฝึกอบรมที่มีความพิการ ตราบเท่าที่ความพิการนั้นไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยจะพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ของผู้สมัครแต่ละรายร่วมด้วย
หลักฐานประกอบการสมัคร :
- 1. ประวัติผู้สมัคร (Curriculum vitae) พร้อมรูปถ่ายปัจจุบันไม่เกิน 6 เดือน
- 2. จดหมายแสดงเจตจำนงในการสมัครเรียนแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวข้อ “เพราะอะไรจึงอยากเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว”
- 3. จดหมายแนะนำตัวผู้สมัคร (recommendation Letter) จากผู้บังคับบัญชา หรือ อาจารย์แพทย์ที่รู้จักผู้สมัครเป็นอย่างดีจำนวน 2 ท่าน โดยต้องใช้แบบฟอร์มของสาขาวิชาฯ ให้ส่งจดหมายปิดผนึกส่งตรงถึงหัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 4. หลักฐานแสดงผลการเรียนตลอดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจากสถาบันที่จบการศึกษา และผลการสอบ NL
- 5. Portfolio ในวันสัมภาษณ์จริง
- 6. คะแนนการสอบภาษาอังกฤษ (ถ้ามี)
จำนวนแพทย์ประจำบ้านที่รับได้ต่อปี :
ขั้นตอนการรับสมัคร :
- เดือน กรกฏาคม - ตุลาคม ของทุกปี ให้ผู้สนใจสมัคร โทรแจ้งความประสงค์ พร้อมฝากรายชื่อและเบอร์ติดต่อกลับที่ คุณกรณพรรธช์ ผู้ประสานงานหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ที่เบอร์โทร 02-5022345 ต่อ 3258
- เดือน ตุลาคม ของทุกปี แพทยสภาประกาศเปิดรับสมัครรอบที่ 1 ให้ผู้สมัครทุกราย ดำเนินการสมัครอย่างเป็นทางการกับแพทยสภา (ให้ติดตามที่เวปไซด์แพทยสภา)
- เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม ของทุกปี เมื่อฝ่ายการศึกษารวบรวมหลักฐานประกอบการสมัครและรายชื่อผู้สมัครได้แล้ว สาขาวิชาฯจะโทรนัดสอบสัมภาษณ์ ตามวันและเวลาที่กำหนด
- เดือน มกราคม ของทุกปี สาขาวิชาฯ ส่งรายชื่อแพทย์ที่ผ่านการคัดเลือกให้แก่ราชวิทยาลัยฯ และแพทยสภา
- เดือน มีนาคม ของทุกปี แพทยสภาประกาศรายชื่อแพทย์ที่ผ่านการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านรอบที่ 1
- หากผู้สมัครต้องการอุทธรณ์ผลการคัดเลือก สามารถทำได้โดยการยื่นคำร้องเพื่อขออุทธรณ์ผลได้ หลังการประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ ภายใน 14 วัน
- หากได้ผู้สมัครไม่เต็มจำนวนในรอบแรก สาขาวิชาฯ อาจจะเปิดรับสมัครรอบ 2 ตามประกาศของแพทยสภาต่อไป
การรับสมัครแพทย์ประจำบ้านประจำปีการฝึกอบรม 2568 สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขอเชิญแพทย์ที่มีความสนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ.2567
ขั้นตอนการสมัคร
- ให้แพทย์ผู้สนใจสมัคร โทรแจ้งความประสงค์พร้อมฝากรายชื่อและเบอร์ติดต่อกลับที่ คุณกรณพรรธช์ ผู้ประสานงานหลักสูตรฯ โทร 02-5022345 ต่อ 3258
- สมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยกรอกใบสมัครทางแพทยสภา http://www.tmc.or.th/tcgme
(วันที่ 1-31 ตุลาคม 2567) พิมพ์ใบสมัคร พร้อมยื่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ที่ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์
- ครอบครัวแห่งประเทศไทย (ติดตามรายละเอียดที่เว็บไซต์ราชวิทยาลัยฯ https://www.thaifammed.org)
- เมื่อราชวิทยาลัยส่งรายชื่อผู้สมัครให้สาขาวิชาฯ เจ้าหน้าที่จะโทรนัดสัมภาษณ์ตามวันและเวลาที่กำหนด (ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2567)
ทำเนียบรุ่นแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ